วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

แนะนำบล็อก


แนะนำบล็อกที่รวบรวมผลงานหนังสือนิทานอีบุ้ค (e-book)
ขอแนะนำบล็อกที่รวบรวมผลงานหนังสือนิทานอีบุ้ค (
e-book) หรือหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ ผลงานทั้งหมดจัดทำขึ้นโดยนักศึกษาที่เรียนในรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสานสนเทศเพื่อการศึกษา สอนโดย อาจารย์อัจฉริยะ วะทา โดยบล็อกนี้มีชื่อว่า atinno.blogspot.com
มีหนังสือนิทานอีบุ้คที่เป็นฝีมือของนักศึกษาในหลายๆ สาขา หลายเรื่องน่าอ่านและสามารถโหลดเก็บไว้หรือนำไปสอนได้ด้วย

อย่าลืมนะค่ะ เป็นเว็บที่อยากจะแนะนำ เหมาะสำหรับผู้ที่อยากจะทำหนังสือแบบทำมือและทำเป็นอีบุ้ค (
e-book) น่ะค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

โครงการ

โครงการเรียนรู้จากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย
ณ บ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์ ฤทธิเดช
แหล่งเรียนรู้ชุมชน ครอบครัวปู่ทวดครูสิงห์ สืบสานเจตนารมย์บรรพบุรษจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียน สอนพิเศษให้กับนักเรียนในชุมชน
     

      แหล่งเรียนรู้รู้ชุมชนหรือบ้านหลังเรียนของหลวงปู่ทวดครูสิงห์ ซึ่งเป็นสถานทีบ้านหลังเล็กเปรียบเหมือนสถานศึกษาศิษย์ที่บุตรและธิดาได้
สืบสานอุดมการณ์ต่อจากวิถีคิดของพ่อกับแม่ว่า ต้องการสร้างโรงเรียนให้การศึกษาแก่บุตรหลานในชุมชนตนเอง ที่บ้านกุดแคนหมู่ 6 ตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ครอบครัวปู่ทวดครูสิงห์และแม่สง่า ฤทธิเดช ได้ร่วมกันจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์แม่สง่า ฤทธิเดช เปิดสอนพิเศษให้กับนักเรียนในชุมชนตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยเปิดทำการสอนให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งสิ้น 80 คน จาก 12 หมู่บ้าน เปิดเรียนวันเสาร์ และวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา 09.30 น.-12.30น.โดย โดยห้องเรียนใช้บริเวณห้องโถงข้างบ้าน และสวนหลังบ้านใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสารสนเทศเพื่อการศึกษา

โครงการเรียนรู้เชิงวิชาการจากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย

ณ. “แหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์”



         โครงการบ้านหลังเรียน “แหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์” บ้านกุดแคน ต.หนองโน อ.เมือง จ.มหาสารคาม เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสานต่ออุดมการณ์ของ “ปู่ทวดครูสิงห์ ฤทธิเดช” อดีตครูประชาบาลที่มีความต้องการสร้างโรงเรียนให้ชุมชน และเพื่อแก้ปัญหาเยาวชนใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนไปทำกิจกรรมเสี่ยง ด้วยการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อกันเด็กและเยาวชนไม่ให้หลงทางเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่เสี่ยงในสังคม ให้หันมาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ภายใต้แนวคิดเด็กนำผู้ใหญ่หนุนโดยมีดร.ประสพสุข ฤทธิเดช หรือ “อาจารย์ป้าต๋อย” ผู้อำนวยการและผู้ประสานงานแหล่งเรียนรู้ชุมชนฯ

นิทาน เรื่อง ลูกหมู อู๊ด อู๊ด

หนังสือนิทานเรื่อง ลูกหมู อู๊ด อู๊ด



นิทานเรื่อง ลูกหมู อู๊ด อู๊ด

แต่งโดย

นางสาวศุภลักษณ์  เกตะราช

รหัส 533410010334

  จำนวนหน้า  13

1



2


3


4


5


6

7

8


9


10


11


12


13

การวิเคราะห์และวินิจสาร

การวิเคราะห์และวินิจสาร
การวิเคราะห์  คือ  การแยกแยะออกเป็นส่วนๆ  เพื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วน
วินิจสาร  คือ  การพิจารณาด้วยความเอาใจใส่  เพื่อให้ได้ประโยชน์ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้พินิจ
กระบวนการวิเคราะห์และวินิจสาร
การอ่านหนังสือวรรณกรรมที่มีรูปแบบต่างๆ  กันนั้น  ควรทำความเข้าใจว่างานเขียนหรืองานประพันธ์เหล่านั้นให้ความรู้   ทัศนะ  ความรู้สึกหรืออารมณ์อะไรบ้าง  ความพยายามนั้นคือการค้นหา  สาร  ที่มีอยู่ในวรรณกรรม  พฤติกรรม  เสาะแสวงหา  คำตอบจากสาร นี้   เรียกเป็นศัพท์ทางวิชาการว่า  การวินิจสาร

การวิเคราะห์สาร   มีขั้นตอน  ดังนี้

๑.  พิจารณารูปแบบของการประพันธ์ว่า  เป็นร้อยแก้ว  ร้อยกรอง  นิทาน  นิยาย  สารคดี  เรื่องสั้น  หรือบทความต่างๆ
๒.  แยกเนื้อเรื่องออกเป็นตอนๆให้ชัดเจนว่า  ใคร  ทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อไหร่  ฯลฯ
๓.  พิจารณาส่วนประกอบแต่ละส่วนอย่างละเอียด
๔.  พิจารณากลวิธีในการนำเสนอ
การวินิจสาร  มีขั้นตอนดังนี้
๑.  สำรวจเนื้อความว่าตอนใดเป็นข้อเท็จจริง  ความรู้  ความคิดเห็น   และแสดงออกถึงอารมณ์หรือความรู้สึก
๒.  สำรวจเจตนารมณ์ผู้เขียนจากเนื้อความว่า  ผู้เขียนมีเจตนาอย่างไรและให้ข้อคิดเห็นอย่างไร
๓.  พิจารณาสารที่สำคัญที่สุดและสารที่สำคัญรองลงไป
สารในการวินิจสารมี    ประเภท  คือ
๑.  ข้อเท็จจริง  คือความจริงที่ผู้ประสงค์ต้องการแจ้งให้แก่ผู้อ่านได้ทราบ
๒.  ข้อคิดเห็น  คือความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์ที่มีต่อเหตุการณ์หรือสถานการณ์หนึ่งๆ
๓.   ข้อแสดงอารมณ์   คือสารที่สะท้อนความรู้สึกและอารมณ์ของผู้ประพันธ์หรือตัวละคร  ที่มีต่อเหตุการณ์หนึ่งๆ

การวิเคราะห์และวินิจสารในชีวิตประจำวัน   แบ่งได้ดังนี้
๑.  สารที่เป็นเรื่องทั่วๆ  ไป  คือ  สารที่มีเนื้หาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในแต่ละวัน เช่น  การเดินทาง  การติดต่อสื่อสาร  ฯลฯ
๒.  สารที่เป็นเรื่องของความรู้  คือ  สารที่มีเนื้อหาให้ความรู้  ความคิด  ที่ผู้รับสารอาจนำไปใช้พัฒนา  เปลี่ยนแปลงชีวิตในประจำวันให้ดีขึ้น  ทันสมัยขึ้น

ระดับภาษา


ระดับภาษา
ระดับภาษา  หมายถึง  การใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับโอกาส  กาลเทศะและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  แบ่งเป็น

๑.      ภาษาทางการ  หรือ  ภาษาเขียน  ภาษาระดับนี้ใช้ในการพูดและการเขียนที่เป็นทางการ  คำนึงถึงความถูกต้องของกฏเกณฑ์   ระเบียบของภาษา   ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย  โอกาสที่ใช้  คือ  การเขียนตำรา  การบรรยาย  การอภิปราย  ฯลฯ

๒.      ภาษากึ่งทางการ  คล้ายกับภาษาทางการแต่ลดความเป็นงานเป็นการลงไป  ผู้ส่ง – รับสาร  มีความคุ้นเคยกันพอสมควร  เช่น  การเขียนบทความ  การบรรยายในชั้นเรียน  ฯลฯ

๓.      ภาษาพูดหรือภาษาปาก  ภาษาระดับนี้ใช้พูดในชีวิตประจำวันเป็นส่วนใหญ่และใช้สนทนาโต้ตอบกัน  เช่น  การเขียนจดหมายส่วนตัว   การโฆษนา  ฯลฯ

๔.      ภาษาต่ำ  ภาษาระดับนี้เป็นภาษาที่ไม่สุภาพ  จัดเป็นภาษาหยาบ  นิยมใช้พูดระหว่างเพื่อนวัยเดียวกัน  ไม่นิยมเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร  เว้นแต่ใช้เขียนในนวนิยายหรืเรื่องสั้น

สำนวน ภาษิตและคำพังเพย


              สำนวน   ภาษิตและคำพังเพย
สำนวน  คือ  คำกล่าวที่มีความหมายไม่ตรงตามตัวอักษร  แต่มีความหมายเป็นที่เข้าใจโดยทั่วไป   ใช้ถ้อยคำกะทัดรัดแต่มีความหมายมาก  เช่น  กินใจ  หมายถึง   ผิดใจกัน
ปล่อยแก่   หมายถึง   คนแก่ทำตัวหนุ่ม
การใช้สำนวนให้มีประสิทธิผล  ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
๑.  ใช้ให้ถูกต้องตามความหมาย
๒.  ใช้ให้ถูกต้องตามสถานการณ์
๓.   ใช้ให้ถูกต้องตามกาลเทศะ
ที่มาของสำนวนไทย
๑.    เกิดจากธรรมชาติ  เช่น  ฝนตกไม่ทั่วฟ้า
๒.   เกิดจากอาชีพต่างๆ   เช่น  เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน
๓.   เกิดจากกีฬาและการละเล่นของไทย  เช่น  ศอกกลับ  รุกฆาต
๔.   เกิดจากศาสนาและความเชื่อ  เช่น  ชายสามโบสถ์  คว่ำบาตร
๕.   เกิดจากนิทานวรรณคดี  เช่น   ลูกทรพี     ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง
๖.  เกิดจากอวัยวะ  เช่น   หัวหมอ   หัวเดียวกระเทียมลีบ
๗.  เกิดจากอาหาร  เช่น  ขนมพอสมน้ำยา   ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก
๘.
   เกิดจากประเพณีวัฒนธรรม   เช่น  ชิงสุกก่อนห่าม
๙.   เกิดจากของกินของใช้   เช่น   ฆ้องปากแตก  หน้าสิ่วหน้าขวาน
    ๑๐.   เกิดจากการกระทำความประพฤติ  ความเป็นอยู่  เช่น  กินปูนร้อนท้อง  ชุปมือเปิบ
     ๑๑.  เกิดจากประวัติศาสตร์  เช่น  กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี
คำพังเพย   คือคำที่กล่าวเป็นคำกลางเพื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์  หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น  อาจมีลักษณะเป็นคำสอนหรือไม่มีก็ได้
เช่น
    -   ความวัวยังไม่ทันหายความความก็เข้ามาแทรก
-       กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
-      ข้างนอกสุกใสข้างในเป็นโพรง
สุภาษิต  คือ  คำกล่าวที่ดีเป็นคติสอนใจที่นำมาปฏิบัติได้ทุกยุคทุกสมัย  เช่น
-   ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว
-   ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งแห่งตน
-    ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง     สร้างกุศลอย่ารู้โรย

ประถม ก กา

ประถม    กา
๑.   ประถม  ก กา   เป็นแบบเรียนสำหรับเด็กที่เริ่มหัดอ่านและเขียนภาษาไทย   แต่งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่     แต่ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง
๒.  หนังสือ  ประถม    กา  แต่งด้วยบทร้อยกรองง่ายๆ   ผู้แต่งนำคำที่สะกดในมาตราตัวสะกดแม่ต่างๆ  เช่น  แม่ ก กา  แม่กก  แม่กง   แม่กด ฯลฯ   มาร้อยเรียงเป็นบทร้อยกรองขนาดสั้น
๓.   บทร้อยกรองทุกบทใน  ประถม  ก กา   จดจำง่าย   ช่วยฝึกอ่านคำแบบแจกลูกและแบบสะกดคำให้นักเรียนอ่านได้คล่องขึ้น  นอกจากนี้ยังแทรกความรู้ด้านต่างๆ  ที่เป็นประโยชน์  เช่น  ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ  ความรู้เกี่ยวกับชีวิตของชาวไทยสมัยก่อน  บางตอนก็แทรกคำแนะนำสั่งสอนที่เป็นประโยชน์แก่เด็กๆ เช่น 
ความรู้เรื่องธรรมชาติของสัตว์
เต่านาแลเต่าดำ            อยู่ในน้ำกะจระเข้
ปลาทูอยู่ทะเล                 ปลาขี้เหร่ไม่สู้ดี

ความรู้เกี่ยวกับชีวิตของชาววังสมัยก่อน
              ชาววังนั่งในห้อง           ชักจ้องหน่องดังโหน่งเหน่ง

คำแนะนำสั่งสอนเด็กๆ
เด็กๆ ดูกระจก                                    อย่าให้ตกมักจักแตก
ปลูกเผือกผักถากหญ้าแพรก                       หญ้าคาแฝกอย่าให้รก
หรือในบท   “วิชาหนาเจ้า”
                                                                  เกิดมาเป็นคน
                             หนังสือเป็นต้น           วิชาหนาเจ้า
                             ถ้าแม้นไม่รู้                   อดสูอายเขา
                            เพื่อนฝูงเยาะเย้า            ว่าเง่าว่าโง่
                                                                ลางคนเกิดมา
                                  ไม่รู้วิชา                  เคอะอยู่จนโต
                              ไปเป็นข้าเขา             เพราะเง่าเพราะโง่
                             บ้างเป็นคนโซ            เที่ยวขอก็มี
                                                                ถ้ารู้วิชา
                      ประเสริฐหนักหนา            ชูหน้าราศี
                         จะไปแห่งใด                    มีคนปรานี
                        ยากไร้ไม่มี                       สวัสดีมงคล

การอ่านคำพ้อง


การอ่านคำพ้อง
๑.  คำพ้องรูป  คือ  เขียนเหมือนกัน  อ่านออกเสียงต่างกัน  และความหมายต่างกัน   เช่น
เห็นเสมา ( เส – มา ) หน้าโบสถ์สันโดษดี
ด้านหลังมีเสมา ( สะ – เหมา ) เขาปลูกเป็น
คนแขม  ( ขะ – แม ) แลเห็นเป็นของแถม
จะปลูกแขม  ( แขม ) เคียงคู่ให้ดูเด่น
แหน  ( แหน ) ในน้ำไม่น่ายลเปื้อนโคลนเลน
คนเฝ้าแหนคงมองเห็นความเป็นไป
นี่คือคำพ้องรูปที่ควรรู้    ถ้าสับสนใคร่ครวญจะรู้ได้
รูปเหมือนกันแต่ต่างเสียงสำเนียงไปอีกความหมายใช้ก็แยกแปลกแต่จริง
๑.      คำพ้องเสียง  คือคำที่ออกเสียงเหมือนกัน  เขียนต่างกัน  และความหมายก็ต่างกัน  เช่น
คำว่า  สัน    คือสันเนินหรือสันเขา
คำว่า  สัณห์  คือเกลี้ยงเกลาดังเขาว่า
คำว่า  สรรค์  คือสร้างสรรค์พัฒนา
คำว่า   สรร  คือสรรหามาถือครอง
คำว่า  บาศอาจเป็นห่วงหรือบ่วงบาศ
ดาบคมฟาดบาดแผลใจกลายเป็นหนอง
คำว่าบาทหมายถึงเจ้าเนื้อทอง
บิณฑบาตบาตรใส่ของรองข้าวปลา
คำเหล่านี้เรียกย้ำคำพ้องเสียง
พ้องทั้งถ้อยคำสำเนียงเสียงภาษา
แต่ต่างรูปและความหมายที่ไกลตา
พิจารณาดูให้ซึ้งจึงเข้าใจ