การอ่านอักษรนำ
๑. คำใดที่มีอักษรสูงหรืออักษรกลางนำอักษรต่ำเดี่ยวให้อ่านออกเสียงพยางค์หลัง ผันเสียงตามตัวนำ เช่น
ตลอด ( ตะ – หลอด )ไปตลาด ( ตะ – หลาด) เยี่ยมฉลาด (ฉะ – หลาด ) มีจริต (จะ – หริด )
ฉลู ( ฉะ – หลู ) ดูตงิต ( ตะ – หงิด ) ชอบขนด ( ขะ – หนด ) จรด ( จะ – หรด ) อร่อย ( อะ-หร่อย)
๒. คำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาบาลีสันสกฤต เขมร ฯลฯ นำมาอ่านแบบอักษรนำตามอักขรวิธีของไทย เช่น
๒. คำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาบาลีสันสกฤต เขมร ฯลฯ นำมาอ่านแบบอักษรนำตามอักขรวิธีของไทย เช่น
ดิลก ( ดิ – หลก ) ชกอริ ( อะ – หริ ) ส่วนสิริมีกิเลส ( กิ – เหลด )
สลุต ( สะ – หลุด ) หยุดสังเกต คำอังกฤษติดมาหนึ่ง
๓. การใช้ ห นำอักษรเดี่ยว หรือการใช้ อ นำ ย ไม่ต้องออกเสียง ห และ อ แต่ให้ออกเสียงกลืนกันไป ตามเสียงพยัญชนะตัวนำ เช่น
๓. การใช้ ห นำอักษรเดี่ยว หรือการใช้ อ นำ ย ไม่ต้องออกเสียง ห และ อ แต่ให้ออกเสียงกลืนกันไป ตามเสียงพยัญชนะตัวนำ เช่น
อย่าอยู่อย่างอยาก
หากหวังใหม่มาก ลำบากเหลือหลาย
หนูแหวนหวือหวา จะอย่าอย่าอาย
หาแหวนหรือหวาย พ่อหม้ายใหญ่โต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น