วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

การอ่านคำพ้อง


การอ่านคำพ้อง
๑.  คำพ้องรูป  คือ  เขียนเหมือนกัน  อ่านออกเสียงต่างกัน  และความหมายต่างกัน   เช่น
เห็นเสมา ( เส – มา ) หน้าโบสถ์สันโดษดี
ด้านหลังมีเสมา ( สะ – เหมา ) เขาปลูกเป็น
คนแขม  ( ขะ – แม ) แลเห็นเป็นของแถม
จะปลูกแขม  ( แขม ) เคียงคู่ให้ดูเด่น
แหน  ( แหน ) ในน้ำไม่น่ายลเปื้อนโคลนเลน
คนเฝ้าแหนคงมองเห็นความเป็นไป
นี่คือคำพ้องรูปที่ควรรู้    ถ้าสับสนใคร่ครวญจะรู้ได้
รูปเหมือนกันแต่ต่างเสียงสำเนียงไปอีกความหมายใช้ก็แยกแปลกแต่จริง
๑.      คำพ้องเสียง  คือคำที่ออกเสียงเหมือนกัน  เขียนต่างกัน  และความหมายก็ต่างกัน  เช่น
คำว่า  สัน    คือสันเนินหรือสันเขา
คำว่า  สัณห์  คือเกลี้ยงเกลาดังเขาว่า
คำว่า  สรรค์  คือสร้างสรรค์พัฒนา
คำว่า   สรร  คือสรรหามาถือครอง
คำว่า  บาศอาจเป็นห่วงหรือบ่วงบาศ
ดาบคมฟาดบาดแผลใจกลายเป็นหนอง
คำว่าบาทหมายถึงเจ้าเนื้อทอง
บิณฑบาตบาตรใส่ของรองข้าวปลา
คำเหล่านี้เรียกย้ำคำพ้องเสียง
พ้องทั้งถ้อยคำสำเนียงเสียงภาษา
แต่ต่างรูปและความหมายที่ไกลตา
พิจารณาดูให้ซึ้งจึงเข้าใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น