การอ่านคำแผลง
๑. คำเดิมเป็นพยางค์เดียว และมีพยัญชนะต้นเป็นคำควบกล้ำเมื่อแผลงเป็น ๒ พยางค์ จะต้องอ่านออกเสียงพยางค์หลังให้มีเสียงวรรณยุกต์เหมือนกับ คำเดิม เช่น
คำว่ากราบ แผลงเป็น เช่น กำราบ (กำ – หราบ )
คำว่ากลับ แผลงเป็น เช่น กระหลับ ( กระ – หลับ ) ได้
คำว่าตรวจ แผลงเป็น ตำรวจ ( ตำ – หรวด ) ตรวจทั่วไป
คำว่าเสร็จ แผลงเป็น สำเร็จ ( สำ – เหร็ด ) ได้ในวันนี้
๒. คำเดิมที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรเดียว ไม่มีควบกล้ำเมื่อแผลงแล้วให้อ่านออกเสียงตามรูปที่ปรากฏ เช่น
คำว่าแจกเป็น ( จำ – แนก )
ช่วยก็แยกเป็น ( ชำ – ร่วย )
( อำ – นวย ) มาจากอวย
แสดงด้วยช่วย ( สำ – แดง )
การอ่านตัว ฤ
๑. ออกเสียงเป็น รึ ถ้าตามหลังตัว ค น พ ม ห เช่น คฤหัสถ์ นฤบดี หฤหรรษ์ พฤหัสบดี
๒. ออกเสียงเป็น ริ ถ้าตามหลังด้วย ก ต ท ป ศ ส เช่น กฤติกา ตฤน ทฤษฎี
๓. ออกเสียงเป็น เรอ เช่น ฤกษ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น