การวิเคราะห์และวินิจสาร
การวิเคราะห์ คือ การแยกแยะออกเป็นส่วนๆ เพื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วน
วินิจสาร คือ การพิจารณาด้วยความเอาใจใส่ เพื่อให้ได้ประโยชน์ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้พินิจ
กระบวนการวิเคราะห์และวินิจสาร
การอ่านหนังสือวรรณกรรมที่มีรูปแบบต่างๆ กันนั้น ควรทำความเข้าใจว่างานเขียนหรืองานประพันธ์เหล่านั้นให้ความรู้ ทัศนะ ความรู้สึกหรืออารมณ์อะไรบ้าง ความพยายามนั้นคือการค้นหา สาร ที่มีอยู่ในวรรณกรรม พฤติกรรม เสาะแสวงหา คำตอบจากสาร นี้ เรียกเป็นศัพท์ทางวิชาการว่า การวินิจสาร
การวิเคราะห์สาร มีขั้นตอน ดังนี้
๑. พิจารณารูปแบบของการประพันธ์ว่า เป็นร้อยแก้ว ร้อยกรอง นิทาน นิยาย สารคดี เรื่องสั้น หรือบทความต่างๆ
๒. แยกเนื้อเรื่องออกเป็นตอนๆให้ชัดเจนว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ฯลฯ
๓. พิจารณาส่วนประกอบแต่ละส่วนอย่างละเอียด
๔. พิจารณากลวิธีในการนำเสนอ
การวินิจสาร มีขั้นตอนดังนี้
๑. สำรวจเนื้อความว่าตอนใดเป็นข้อเท็จจริง ความรู้ ความคิดเห็น และแสดงออกถึงอารมณ์หรือความรู้สึก
๒. สำรวจเจตนารมณ์ผู้เขียนจากเนื้อความว่า ผู้เขียนมีเจตนาอย่างไรและให้ข้อคิดเห็นอย่างไร
๓. พิจารณาสารที่สำคัญที่สุดและสารที่สำคัญรองลงไป
สารในการวินิจสารมี ๓ ประเภท คือ
๑. ข้อเท็จจริง คือความจริงที่ผู้ประสงค์ต้องการแจ้งให้แก่ผู้อ่านได้ทราบ
๒. ข้อคิดเห็น คือความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์ที่มีต่อเหตุการณ์หรือสถานการณ์หนึ่งๆ
๓. ข้อแสดงอารมณ์ คือสารที่สะท้อนความรู้สึกและอารมณ์ของผู้ประพันธ์หรือตัวละคร ที่มีต่อเหตุการณ์หนึ่งๆ
การวิเคราะห์และวินิจสารในชีวิตประจำวัน แบ่งได้ดังนี้
๑. สารที่เป็นเรื่องทั่วๆ ไป คือ สารที่มีเนื้หาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในแต่ละวัน เช่น การเดินทาง การติดต่อสื่อสาร ฯลฯ
๒. สารที่เป็นเรื่องของความรู้ คือ สารที่มีเนื้อหาให้ความรู้ ความคิด ที่ผู้รับสารอาจนำไปใช้พัฒนา เปลี่ยนแปลงชีวิตในประจำวันให้ดีขึ้น ทันสมัยขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น