วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วรรคทองในวรรณคดี



 วรรคทองในวรรณคดี    
     
          เป็นภาษาที่ใช้วรรณศิลป์ทั้งด้านการใช้คำและก่อให้เกิดจินตภาพเป็นอย่างดี  มีเนื้อหาที่ควรค่าต่อการจดจำของคนไทยตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน    ดังนั้นเราก็ควรที่จะรู้ไว้เพื่อจะได้เป็นผู้ที่มีความตระหนักและเห็นคุณค่าของภาษาไทยและวรรณคดี (วรรณกรรม)  ไทยของเรา
          วรรคทอง  นั้น  ตามความหมายที่ได้ศึกษามาแต่วัยเยาว์ เพื่อเป็นการประมวลความรู้ของตนเอง  ในโอกาสนี้จึงขอให้ความหมายของคำว่าวรรคทองโดยนิยามด้วยตนเอง       วรรคทอง  คือ  คำประพันธ์บางส่วนหรือบางบทที่มีคุณค่าต่อจิตใจของหมู่ชน  ชวนให้จดจำ  เป็นบทที่กินใจ  ด้วยคำประพันธ์ดังกล่าวนั้นมีการเรียงร้อยคำที่ไพเราะ  อีกทั้งให้พลังในด้านความรู้สึกที่ชัดเจนและสะเทือนอารมณ์ก่อให้เกิดจินตภาพ  (ภาพที่เกิดจากความนึกคิดหรือที่คิดว่าควรจะเป็นเช่นนั้น  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ภาพลักษณ์ )   “จินตภาพ”  หรือ  “ภาพลักษณ์”  นี้  ตามความหมายในพจนานุกรมไทยมีความหมายตรงกับคำที่บัญญัติศัพท์มาจากภาษาอังกฤษคือ  คำว่า  “image”  
          คำว่า  “ทอง”  เปรียบได้กับสิ่งที่มีคุณค่าแห่งจิตใจ  ทองหากเทียบกับเงินแล้วย่อมมีพลังในด้านราคามากกว่า  แต่ในด้านวรรณกรรมเราจะไปใช้กับราคาก็ไม่เหมาะ  เพราะเงินไม่สามารถซื้อทุกสิ่งทุกอย่างได้เสมอไป


วันนี้เก็บ"วรรคทอง" ในวรรณคดีที่อ่านจากหนังสือเล่มต่าง ๆ มาฝากกันค่ะ

                              เกิดมาต้องร่าเริงเข้าไว้                  จะบูดบึ้งทำไมไม่สดชื่น

          หัวเราะเป็นเล่นหรือจริงยิ่งครึกครื้น                  อายุยืนหมื่นปีดีไหมล่ะ?

                         เวทีโลกโชคเราเข้ามาเล่น                  ต้องรำเต้นเต้นรำตามจังหวะ

                          ควรถี่ห่างอย่างไรไว้ระยะ                 จะเป็นพระหรือนางอย่างเดียวกัน

                                  ในโลกนี้มีทั้งสุขสนุก                 ค้นไม่พบต้องทุกข์เป็นแม่นมั่น

                       ทิ้งอบอุ่นวุ่นหาแต่หนาวนั้น                 โทษใครนั่นขอได้โปรดโทษตนเอง

                    คนหน้าเศร้าคือเขาดื่มยาพิษ                 ทอนอายุเป็นนิจไม่เหมาะเหมง

                 คนสำราญเบิกบานใจครื้นเครง                 เขาปลั่งเปล่งลิ้มรส "อมฤต"

                                                                                             "ครูเทพ"

                                                                                 (โคลงกลอนของครูเทพ)